วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)

-( http://pirun.ku.ac.th/~g4886063/learningT.htm)
                 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน   ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว

-( http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)
                  ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ 

-( http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm)
                 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)  แนวคิดขอทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะแข่งขันกัน  ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้  การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม  มีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม  และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน ส่วนการประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว 
สรุป
                  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 6 คน  ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม  โดยต่างคนต่างให้ความร่วมมือช่วยเหลือกัน และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบงานร่วมกัน   การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะเน้นให้ผู้เรียนช่วยกันในการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาอาศัยกันในการเรียนรู้  มีการปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด  มีการสัมพันธ์กัน  มีการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยวิธีการที่ หลากหลายและควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมิน  และครูควรจัดให้ผู้เรียนมีเวลาในการวิเคราะห์การทำงานกลุ่มและพฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม  เพื่อให้กลุ่มมีโอกาสที่จะปรับปรุงส่วนบกพร่องของกลุ่มเดียว 
ที่มา
                   http://pirun.ku.ac.th/~g4886063/learningT.htm: เข้าถึงเมื่อ 14/06/2554
                   http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm 24/06/2554 :เข้าถึงเมื่อ

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism)

-( http://pirun.ku.ac.th/~g4886063/learningT.htm)
             ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism)  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น    หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน  เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย  เช่น  การประเมินตนเอง  การประเมินโดยครูและเพื่อน  การสังเกต  การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน

-( http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)
                ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism)  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น   

-( http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm)
              ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism)  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น    หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน  ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน  เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ  ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย 
สรุป
     แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีต่างๆที่เหมาะสม  จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ  ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในด้านต่างๆ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในการประเมินผลทั้งในด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง  การประเมินโดยครูและเพื่อน  การสังเกต  การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน เป็นต้น

ที่มา
http://pirun.ku.ac.th/~g4886063/learningT.htm: เข้าถึงเมื่อ 14/06/2554
http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486: เข้าถึงเมื่อ 24/06/2554
http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm:เข้าถึงเมื่อ 24/06/2554

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)

-( http://pirun.ku.ac.th/~g4886063/learningT.htm)
                  ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)  เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้(process of knowledge construction)  เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว   ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย  ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ  และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง  โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง  ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น  ผู้เรียนได้มีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้  บทบาทของครูจะเป็นผู้ให้ความร่วมมือ  อำนวยความสะดวกและช่วยเหลือผู้เรียนในการเรียนรู้  การประเมินผลการเรียนรู้ตามทฤษฏีนี้มีลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคล  การประเมินควรใช้วิธีการที่หลากหลาย  การวัดผลจะต้องใช้กิจกรรมหรืองานในบริบทจริงด้วย  ซึ่งในกรณีที่จำเป็นต้องจำลองของจริงมา  ก็สามารถทำได้  แต่เกณฑ์ที่ใช้ควรเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในโลกความจริงด้วย

-( http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)
                  ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism)  เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป  

-( http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7)
                   ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ ความเข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และ สิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความ รู้(process of knowledge construction) เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่ แน่นอนตายตัว ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ
สรุป
                   เป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการในการที่ใช้วิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้  ความเข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อในการแปลความหมายสิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูลทั้งภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความ รู้(process of knowledge construction) เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่ แน่นอน  ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ
ที่มา
                  http://pirun.ku.ac.th/~g4886063/learningT.htm: เข้าถึงเมื่อ 14/06/2554
                  http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7 24/06/2554 :เข้าถึงเมื่อ

ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences)

-(http://pirun.ku.ac.th/~g4886063/learningT.htm)
ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences) ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
                    1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย 
                     -   เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
                      -   เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence) 
                      -   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 
                     -   เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
                      -   เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
                      -   เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
                      -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
                      -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
                     เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน  ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา  ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
                    2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
                    หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน  ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน  การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน  ครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน  ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง  และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  ระบบการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ควรมีการประเมินหลายๆ ด้าน  และในแต่ละด้านควรเป็นการประเมินในสภาพการณ์ของปัญหาที่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ  การประเมินจะต้องครอบคลุมความสามารถในการแก้ปัญหาหรือการสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเชาวน์ปัญญาด้านนั้นๆ อีกวิธีหนึ่ง

-( http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm)
                    1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย  
                     -   เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
                     -   เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logicalmathematicalintelligence)  
                     -   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 
                     -   เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
                     -   เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
                     -   เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
                     -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
                     -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
                     เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
                    2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
                    หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆด้าน ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียนครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตน ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ของตนเอง  และเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น

-( http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486
                    
  ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences) ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ คือ
                      1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย 
                      -   เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
                      -   เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence) 
                     -   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 
                     -   เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
                     -   เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
                     -   เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
                     -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
                     -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
                    เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้  คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น  และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน 
                   2.   เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม

สรุป
                    ทฤษฏีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ  2  ประการ  มีดังนี้
                    1.  เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น  แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน  ประกอบด้วย 
                    -   เชาวน์ปัญญาด้านภาษา(Linguistic intelligence)
                    -   เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ(Logical mathematical intelligence) 
                    -   สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์(Spatial intelligence) 
                    -   เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี(Musical intelligence)
                    -   เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ(Bodily kinesthetic intelligence)
                    -   เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น(Interpersonal intelligence)
                    -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง(Intrapersonal intelligence)
                   -   เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ(Naturalist intelligence)
                   2. เชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้  หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
                  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน  ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน  การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียน  ครูควรสอนโดนเน้นให้ผู้เรียนค้นหาเอกลักษณ์ของตนและเคารพในเอกลักษณ์ของผู้อื่น รวมทั้งเห็นคุณค่าและเรียนรู้ที่จะใช้ความแตกต่างของแต่ละบุคคลให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

ที่มา 
              http://pirun.ku.ac.th/~g4886063/learningT.htm: เข้าถึงเมื่อ 14/06/2554
              http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm: เข้าถึงเมื่อ 24/06/2554
              http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486:เข้าถึงเมื่อ 24/06/2554


ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)

-(http://pirun.ku.ac.th/~g4886063/learningT.htm)
                  ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory) 
                  เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น  จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน  สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย  หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ  ได้เป็นเวลานาน  สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding)  เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว  วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น  การท่องจำซ้ำๆ  การทบทวน  หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด

-( http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm)
              ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)
                  เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน  สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย  หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ  ได้เป็นเวลานาน  สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding)  เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว  วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี  เช่น  การท่องจำซ้ำๆ  การทบทวน  หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด

-( http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486)
                  ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information Processing Theory)  
                  เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์  โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง  ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ 

สรุป
                     เป็นทฤษฏีเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์    โดยให้ความสำคัญเกี่ยวกับการทำงานของสมองในทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่า  การทำงานของมนุษย์ทุกคนมีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์  ซึ่งหลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น จะทำให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานานโดยทำให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการขยายความคิดได้

ที่มา
                    http://pirun.ku.ac.th/~g4886063/learningT.htm: เข้าถึงเมื่อ 14/06/2554
               http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm: เข้าถึงเมื่อ 24/06/2554
               http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486:เข้าถึงเมื่อ 24/06/2554